จะรู้ได้อย่างไรว่าแพ้ยา

จะรู้ได้อย่างไรว่าแพ้ยา

อาการแพ้ยา เป็นอาการผิดปกติที่เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านกับยาที่เรารับประทานเข้าไป เสมือนว่ายานั้นเป็นสิ่งแปลกปลอม ซึ่งเราไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่าเราแพ้ยาหรือไม่ หากเราไม่เคยมีการทดสอบด้วยยาชนิดนั้น ๆมาก่อน แต่เราสามารถตรวจสอบว่าเราแพ้ยาที่รับประทานเข้าไปหรือไม่ โดยการสังเกตอาการระยะเริ่มต้นได้ก่อนที่จะมีอาการแพ้ที่รุนแรงมากขึ้น โดยทั่วไปอาการแพ้มักมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันซึ่งหากในครอบครัวของเรามีคนที่แพ้ยา ก็มีโอกาสที่เราจะแพ้ยาเพิ่มมากขึ้นไปด้วย

วิธีการสังเกตอาการแพ้ยา

การแพ้ยา สามารถแสดงอาการได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่รับประทานยา หรืออาจเริ่มมีอาการแพ้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันมาต่อต้านยาแล้วก็ได้ ซึ่งอาจทิ้งระยะเวลานานหลายวันจึงจะมีอาการแพ้ โดยลักษณะเริ่มต้นของการแพ้จะมีดังต่อไปนี้

  • ผื่นลมพิษ
  • คันตามผิวหนัง หรือดวงตา
  • อาการบวมบริเวณใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น

อาการเหล่านี้หากปล่อยล่วงเลยไปอาจก่อให้เกิดการแพ้ที่รุนแรงขึ้นจนถึงชีวิตได้ตัวอย่างเช่น

  • มีไข้สูง
  • ลมหายใจติดขัด หายใจมีเสียงแหลม
  • ปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้
  • วิงเวียนศีรษะ
  • อาเจียน ท้องเสีย
  • ชีพจรเต้นอ่อน หรือเร็วผิดปกติ
  • ความดันเลือดต่ำ
  • ลมชัก
  • สูญเสียการรับรู้

นอกจากนี้ยังมีอาการแพ้ยาที่พบได้ยาก แต่ก็มีความรุนแรงเช่นเดียวกัน ซึ่งผลจากการแพ้ลักษณะนี้อาจจะยังคงอยู่ต่อได้นานหลายสัปดาห์ แม้ว่าราจะหยุดรับประทานยาตัวนั้นไปแล้วก็ตาม

  • ภาวะภูมิคุ้มกันไวกว่าปกติ หรือ Serum sickness เกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิมาต่อต้านยามากเกินไป ส่งผลให้เกิดไข้สูง ปวดบริเวณไขข้อ เป็นผื่น บวม หรือคลื่นไส้
  • ภาวะโลหิตจางที่เกิดจากการใช้ยา จะทำให้ปริมาณเม็ดเลือดแดงของเราลดลง ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย หัวใจเต้นผิดปกติ และหายใจได้ทีละน้อย ไม่เต็มปอด
  • ภาวะผื่น และการบวมที่รุนแรง โดยร่างกายจะสร้างเม็ดเลือดขาวมาตอบสนองกับตัวยามากผิดปกติ ส่งผลให้เกิดอาการบวมตามร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองโต หรือถึงขั้นมีอาการตับ หรือไตอักเสบร่วมด้วยได้

วิธีดูแลรักษาเมื่อเกิดอาการแพ้ยา

            เมื่อเราเริ่มสงสัยว่าตนเองจะมีอาการแพ้ยา ควรปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้

  1. หยุดใช้ยาทุกชนิดที่ต้องสงสัยว่าจะแพ้ทันที
  2. กรณีที่มีผื่นขึ้นให้ถ่ายภาพลักษณะผื่นที่เกิดไว้ หากผื่นมีการลุกลามหรือเปลี่ยนแปลงไปก็ต้องถ่ายภาพเอาไว้เพื่อประกอบการวินิจฉัยของแพทย์ด้วยเช่นกัน
  3. นำยาที่รับประทานเข้าไป พร้อมชื่อยาและฉลากยาไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีประวัติแพ้ยา

  1. จดจำชื่อยา และอาการที่แพ้
  2. พกบัตรแพ้ยาติดตัวเสมอ
  3. แจ้งชื่อยาที่แพ้แก่แพทย์และเภสัชกรก่อนรับการรักษาทุกครั้ง
  4. หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือกลุ่มยาที่เคยแพ้

ข้อห้ามสำหรับผู้แพ้ยา

ไม่ควรทานยาที่แพ้ทีละน้อยเพื่อหวังให้อาการแพ้ค่อย ๆหายไป เนื่องจากอาการแพ้ยาไม่ใช่อาการที่จะหายได้ด้วยการรับประทานซ้ำบ่อย ๆ ยิ่งไปกว่านั้นอาจก่อให้เกิดอาการแพ้รุนแรงขึ้นกว่าเดิมได้ ดังนั้น หากเราแพ้ยาชนิดใด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาประเภทนั้นไปตลอดจะปลอดภัยที่สุด

 

ที่มา        http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/956/drugallergy
https://www.drugs.com/cg/drug-allergy.html
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/drug-allergy/symptoms-causes/syc-20371835
https://www.premierhealth.com/your-health/articles/women-wisdom-wellness-/drug-allergy-or-side-effect-why-you-need-to-know

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Brands
7amino (0)
Active (0)
Alcon (2)
aLGy (2)
Amsel (1)
Bayer (1)
Beurer (2)
CDR (2)
CG210 (2)
D24 (0)
Dettol (4)
Doctor (7)
Durex (5)
Ezerra (5)
Fos (2)
Futuro (9)
Hashi (11)
Hicee (2)
I-COCO (1)
ILHWA (0)
Lynae (2)
Nipro (9)
Noal (0)
O labo (2)
Omron (1)
Proflex (14)
Racer (1)
Ray (0)
Renu (3)
Scagel (3)
Scholl (1)
Stada (1)
Toby (5)
Tomei (5)
Vicks (3)
Vistra (11)
Yamada (1)
Yibon (0)