ทำไมเราถึง “ดื้อยา” กันนะ?

ทำไมเราถึง "ดื้อยา" กันนะ?

ทำไมเราถึง “ดื้อยา” กันนะ?

เราทุกคนต่างก็อาศัยอยู่ร่วมกับเหล่าแบคทีเรียหลายล้านชนิด แม้แต่เซลล์ในร่างกายของเราก็ยังมีเจ้าแบคทีเรียอาศัยอยู่ภายใน บางชนิดก็สร้างประโยชน์ และเป็นมิตรร่างกาย แต่เรามักไม่เคยตระหนักเลยว่าแบคทีเรียอีกหลายชนิดก็อาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้

แบคทีเรียกับยาปฏิชีวนะ

“เชื้อดื้อยา” เกิดขึ้นกับโรคที่มีต้นเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย หลายคนอาจคิดว่ายาปฏิชีวนะนั้นเป็นยาอเนกประสงค์ และสามารถรักษาได้ทุกโรคนั้นเป็นความคิดที่ผิด จริง ๆแล้วยาปฏิชีวนะเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส และไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ แก้ปวด ลดไข้ จะใช้รักษาเฉพาะโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น โดย “เชื้อดื้อยา” ที่เกิดจากการรับประทานยาที่ผิดวิธี มักมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมดังต่อไปนี้

  1. การที่เรารับประทานยาปฏิชีวนะบ่อย หรือนานเกินไป

โดยปกติแล้วในร่างกายของเราจะมีเชื้อแบคทีเรียที่แข็งแรง และไม่แข็งแรงปะปนกันอยู่แล้ว การที่เราซื้อยาปฏิชีวนะกินเองโดยไม่ตรวจสอบว่าเป็นโรคที่ร่างกายสามารถหายเองได้ตามระบบภูมิคุ้มกันหรือเปล่า เช่น เมื่อเป็นหวัดจากเชื้อไวรัสทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องทานยาแต่เรากลับซื้อยาปฏิชีวนะกินเองทุกครั้ง หากเราทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆเป็นเวลานาน ยาที่รับประทานเข้าไปจะทำลายแบคทีเรียที่อ่อนแอไปจนหมด จนเหลือแต่เชื้อแบคทีเรียแข็งแรงที่ต้านทานยาได้ แม้ในระยะแรก ยาอาจจะยังรักษาได้ผล แต่ในระยะยาวหากแบคทีเรียที่เหลือรอดจดจำและพัฒนาไปเป็นเชื้อดื้อยา เราก็ไม่สามารถรับประทานยาตัวเดิมแล้วหายจากโรคได้อีกต่อไป

  1. การรับประทานยาปฏิชีวนะไม่ครบตามปริมาณที่แพทย์สั่ง

หากเรารับประทานยาไม่ครบตามกำหนด จะส่งผลให้ยาไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียได้ทันท่วงที ทำให้เจ้าตัวที่เหลือรอดนั้นวิวัฒนาการตัวเองเพื่อต่อต้านยาที่ร่างกายรับเข้าไป เกิดเป็นเชื้อดื้อยา

ยิ่งไปกว่านั้น เชื้อดื้อยาเหล่านี้ยังสามารถส่งต่อพันธุกรรมไปยังลูกหลาน หรือแบคทีเรียสายพันธุ์อื่นได้ ทำให้ท้ายที่สุดแล้วเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้ก็จะกลายเป็นเชื้อที่แข็งแรง และอาจไม่มียาใดรักษาได้อีก

วิธีการป้องกัน

วิธีการลดความเสี่ยงจากการก่อเชื้อดื้อยานั้นสามารถทำได้โดยเริ่มต้นจากการปรับปรุงพฤติกรรมของตัวเราเองดังนี้

  1. ไม่ซื้อยาปฏิชีวนะกินตามผู้อื่น เนื่องจากโรคที่เรากับคนอื่นเป็นนั้นอาจมีสาเหตุมาจากต้นตอของโรคที่ต่างกัน
  2. หากได้รับยาปฏิชีวนะจากแพทย์หรือเภสัชกร ควรรับประทานให้ครบตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
  3. ไม่ซื้อยาปฏิชีวนะเดิมที่เคยกินซ้ำด้วยตนเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบอาการให้แน่ชัดว่าเราติดเชื้อจากแบคทีเรียจริงหรือไม่

เชื้อดื้อยานั้นอันตรายกว่าที่เราคิด หลายคนอาจไม่สนใจและคิดว่าหากดื้อยาก็เพียงแค่เปลี่ยนยาไปเรื่อยๆ แต่คุณทราบหรือไม่ว่า จากผลการสำรวจในไทยพบว่าในทุกๆ 15 นาที มีผู้เสียชีวิตจากการใช้ยาปฏิชีวนะเฉลี่ย 1 คน เนื่องจากไม่มียาที่รักษาได้ ทำให้ทุกวันนี้จำเป็นต้องมีการคิดค้นยาปฏิชีวนะที่สามารถต้านเชื้อดื้อยาที่พัฒนาตัวเองขึ้นใหม่อยู่เสมอ ล่าสุดแล้ว แม้แต่ยาตัวใหม่ที่คิดค้นขึ้นมาก็เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาไปเสียแล้ว ดังนั้นเราจึงต้องปกป้องตนเอง เริ่มต้นจากเรื่องง่ายๆ อย่างการรับประทานยาตามคำสั่งของแพทย์ หรือเภสัชกรเท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดภัยร้ายจากเชื้อดื้อยาตามมาภายหลัง

 

ที่มา
– https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/antibiotic-resistance
– https://www.bltbangkok.com/News/เชื้อดื้อยามหันตภัยร้ายยาปฏิชีวนะ
– https://www.medicalnewstoday.com/articles/320070.php#1
– https://youtu.be/-ZX97bIbZBQ
– GPO องค์การเภสัชกรรม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Brands
7amino (0)
Active (0)
Alcon (2)
aLGy (2)
Amsel (1)
Bayer (1)
Beurer (2)
CDR (2)
CG210 (2)
D24 (0)
Dettol (4)
Doctor (7)
Durex (5)
Ezerra (5)
Fos (2)
Futuro (9)
Hashi (11)
Hicee (2)
I-COCO (1)
ILHWA (0)
Lynae (2)
Nipro (9)
Noal (0)
O labo (2)
Omron (1)
Proflex (14)
Racer (1)
Ray (0)
Renu (3)
Scagel (3)
Scholl (1)
Stada (1)
Toby (5)
Tomei (5)
Vicks (3)
Vistra (11)
Yamada (1)
Yibon (0)