เตรียมสุขภาพให้พร้อม เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้

เตรียมสุขภาพให้พร้อม เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้

หลายครอบครัวที่มีความพร้อมและต้องการมีบุตรต่างก็ประสบกับปัญหาที่ว่าทำอย่างไรก็ยังไม่ตั้งครรภ์เสียที โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุ 30 ปีที่แม้ว่าจะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ก็มีอัตราการตั้งครรภ์เฉลี่ยเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นในแต่ละรอบของการตกไข่ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่เราจะต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าที่จะมีบุตรได้อย่างที่หวัง

การตั้งครรภ์มีกระบวนการอย่างไรบ้าง

ในแต่ละเดือน ร่างกายของผู้หญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ไข่ภายในรังไข่เติบโตอย่างเต็มที่ และเนื้อเยื่อที่หุ้มไข่อยู่จะฉีกออก ไข่ก็จะหลุดออกมาเรียกว่า “การตกไข่” ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้หญิงมีประจำเดือนรอบล่าสุดประมาณ 2 สัปดาห์

หลังจากมีการตกไข่ รังไข่จะสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนออกมา ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนา และมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ขณะที่ไข่กำลังเดินทางผ่านท่อนำไข่มายังโพรงมดลูกนั้น หากช่วงเวลานี้หากไข่ได้รับการผสมจากสเปิร์ม ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วก็จะเดินทางต่อมาจนถึงมดลูกและฝังตัวเข้ากับเยื่อบุโพรงมดลูก แล้วเกิดเป็นการตั้งครรภ์ขึ้นมา ทำให้วิธีเบื้องต้นที่แพทย์นิยมแนะนำเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ก็คือ ตรวจสอบการตกไข่ โดยวิธีนี้มีเครื่องมือที่สามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้

การใช้ชุดตรวจสอบการตกไข่

ชุดตรวจลักษณะนี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป จะคล้ายกับชุดตรวจสอบการตั้งครรภ์ โดยจะใช้ปัสสาวะที่เก็บในตอนเช้าหยดลงบนแผ่นทดสอบ โดยเริ่มตรวจ 2-3 วันก่อนวันที่จะตกไข่ (วันตกไข่จะอยู่ที่ประมาณ 14 วันหลังจากหมดรอบเดือนรอบล่าสุด) หากผลตรวจเป็นบวก คือมีการตกไข่ ทางแพทย์ก็จะแนะนำให้มีเพศสัมพันธ์ในวันนั้น และอีก 2-3 วันถัดจากวันที่มีการตกไข่ เพื่อเพิ่มโอกาสที่สเปิร์มจะเข้าไปผสมกับไข่ได้สำเร็จ

การเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการมีบุตร

            การเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการมีบุตรเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติร่วมกันทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงเนื่องจากสุขภาพร่างกายของทั้งคุณพ่อและคุณแม่มีผลต่อการปฏิสนธิของไข่กับสเปิร์มเป็นอย่างมาก โดยวิธีการเบื้องต้นของการดูแลสุขภาพของทั้งฝ่ายชายและหญิงสามารถทำได้ดังต่อไปนี้

ตรวจสุขภาพก่อนมีบุตร

แม้ว่าเราจะมีร่างกายที่แข็งแรงดี แต่เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่ามีโรคใดที่แอบแฝงอยู่ จึงควรตรวจหาโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคเบาหวาน โรโลหิตจาง เนื่องจากโรคกลุ่มนี้อาจเป็นอันตรายต่อบุตรได้ จึงต้องมีการตรวจหา และควบคุมอาการให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการมีบุตร

ควบคุมระดับน้ำหนักตัวให้เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินกว่ามาตรฐาน BMI

การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินเกณฑ์ในเพศชายจะส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของสเปิร์มซึ่งอาจทำให้บุตรมีภาวะน้ำหนักเกินได้ ส่วนในเพศหญิงที่มีน้ำหนักเกิน อาจส่งผลให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนใสมดุล ทำให้อาจไม่มีการตกไข่ หรือประจำเดือนมาไม่ปกติได้ ทำให้มีบุตรได้ยากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักในเกณฑ์ปกติ

การพักผ่อนให้เพียงพอ

ข้อนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้ว ในเพศชายและหญิงที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันจะทำให้อัตราการตั้งครรภ์ลดลงได้ โดยเฉพาะเพศชายหากพักผ่อนไม่เพียงพออัตราการที่จะมีบุตรก็อาจลงลงได้มากถึง 42 เปอร์เซ็นต่อเดือนเลยทีเดียว

งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด

แอลกอฮอล์จะส่งผลต่อการปฏิสนธิ โดยจะลดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเพศชายลง คุณภาพและปริมาณของสเปิร์มของเพศชายถดถอยลง ในส่วนของเพศหญิงการดื่มแอลกอฮอล์ก็จะทำให้เกิดภาวะไม่เจริญพันธุ์ หรือมีบุตรยาก

งดสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่ทั้งในเพศชายและเพศหญิงจะส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ได้ โดยสเปิร์มและไข่จะถูกทำลายโดยสารพิษที่อยู่ในบุหรี่ทำให้มีบุตรได้ยากขึ้น

งดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน

หากจำเป็นต้องดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีนจริงๆก็ไม่ควรบริโภคคาเฟอีนเกินวันละ 200 มิลลิกรัม/วันจึงจะปลอดภัยต่อภาวะมีบุตรยาก

บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับการตั้งครรภ์

  • สำหรับเพศหญิง

วิตามินที่จำเป็นที่สุดต่อการตั้งครรภ์ในเพศหญิงที่คือ “กรดโฟลิก” เนื่องจากกรดโฟลิกจะมีส่วนช่วยในการสร้างตัวอ่อน ซ่อมแซมพันธุกรรม ควบคุมการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการแบ่งเซลล์ ซึ่งหากผู้เป็นแม่ได้รับกรดโฟลิกไม่เพียงพออาจทำให้ทารกในครรภ์เกิดความพิการได้ โดยก่อนที่คุณแม่จะมีการตั้งครรภ์ควรรับประทานกรดโฟลิกวันละ 400 ไมโครกรัม (0.4 มิลลิกรัม) ติดต่อกันอย่างน้อย 1-3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ และรับประทานต่อเนื่องไปอีก 3 เดือนหลังตั้งครรภ์แล้วจะปลอดภัยที่สุด

 

 

  • สำหรับเพศชาย

วิตามินสำหรับเพศชายส่วนมากจะเป็นวิตามิน และสารอาหารต่างๆที่ช่วยบำรุงสเปิร์ม ได้แก่กลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ ซีลีเนียม(Selenium) ซิงค์(Zinc) วิตามินซี และวิตามิน E

เมื่อไรที่เราจะรู้ตัวว่ากำลังเข้าสู่ภาวะมีบุตรยาก

          โดยปกติแล้วคู่รักที่มีสุขภาพร่างกายปกติดีจะสามารถตั้งครรภ์ได้ภายใน 1 ปี หลังจากพยายามมีบุตรดูและมีการเตรียมพร้อมสำหรับมีบุตรดังวิธีการข้างต้น แต่หากฝ่ายหญิงมีอายุน้อยกว่า 35 ปีและยังไม่ตั้งครรภ์ภายในระยะเวลา 1 ปี ควรเข้าปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาสาเหตุต่อไป

แต่กรณีที่ฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 35 ปีอาจสามารถพยายามมีบุตรต่อไปได้อีกประมาณ 6 เดือน (รวม 1 ปี 6 เดือน) หากยังไม่มีแนวโน้มว่าจะตั้งครรภ์จึงค่อยไปพบแพทย์

แต่หากฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ แล้วมีการแท้งบุตรเกิดขึ้นหลายครั้งอย่างไม่ทราบสาเหตุ หรือเนื่องมาจากความผิดปกติทางร่างกาย หรือการใช้ยารักษาโรคประจำตัว ควรเข้าพบกับแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางทันที

 

ที่มา:

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Brands
7amino (0)
Active (0)
Alcon (2)
aLGy (2)
Amsel (1)
Bayer (1)
Beurer (2)
CDR (2)
CG210 (2)
D24 (0)
Dettol (4)
Doctor (7)
Durex (5)
Ezerra (5)
Fos (2)
Futuro (9)
Hashi (11)
Hicee (2)
I-COCO (1)
ILHWA (0)
Lynae (2)
Nipro (9)
Noal (0)
O labo (2)
Omron (1)
Proflex (14)
Racer (1)
Ray (0)
Renu (3)
Scagel (3)
Scholl (1)
Stada (1)
Toby (5)
Tomei (5)
Vicks (3)
Vistra (11)
Yamada (1)
Yibon (0)