ไม่กินน้ำตาลก็เป็นเบาหวานได้จริงหรือ

ไม่กินน้ำตาลก็เป็นเบาหวานได้จริงหรือ

ไม่กินน้ำตาลก็เป็นเบาหวานได้จริงหรือ?

คุณเคยรู้หรือไม่ว่า แม้เราจะไม่ได้มีน้ำหนักที่เกินกว่าเกณฑ์ และพยายามหลีกเลี่ยงบริโภคของหวานในปริมาณที่มากเกินไปแล้ว เราก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวานได้ อีกทั้งยังสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่อายุยังน้อยอีกด้วย

โรคเบาหวานเกิดจากอะไร?

โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถกักเก็บน้ำตาลและนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ทำให้น้ำตาลถูกสะสมอยู่ในกระแสเลือดโดยที่ไม่ได้ถูกนำไปเป็นพลังจากให้กับส่วนต่างๆของร่างกาย จึงอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆตามมาภายหลัง

เบาหวานมีกี่ประเภท?

โรคเบาหวานถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันตามสาเหตุของการเกิดโรค

  1. เบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 diabetes)

โรคเบาหวานประเภทนี้มักพบได้ในเด็กเล็ก และวัยรุ่น หรืออาจจะพบได้น้อยมากในผู้ใหญ่ เบาหวานประเภทนี้มีสาเหตุมาจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นเข้าไปทำลายเซลล์ที่มีหน้าที่ผลิตอินซูลิน ซึ่งเป็นสารควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดมีมากเกินไปจนเกิดเป็นเบาหวานขึ้นมา โดยแพทย์คาดว่าโรคเบาหวานชนิดนี้อาจเกิดมาจากความผิดปกติ หรือการสืบทอดทางพันธุกรรม ซึ่งในปัจจุบันนี้ทางการแพทย์ยังไม่สามารถหาวิธีป้องกันการเกิดเบาหวานประเภทที่ 1 ให้หายได้ ทำให้ผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานประเภทนี้จำเป็นจะต้องรับการรักษาโดยการฉีดอินซูลินไปตลอดชีวิต

ยิ่งไปกว่านั้นเบาหวานประเภทที่ 1 นอกจากจะเกิดขึ้นบ่อยในเด็กแล้ว ยังสามารถเกิดขึ้นได้ในวัยผู้ใหญ่ได้ใช้เวลาในการก่อเกิดโรคเพียงไม่กี่สัปดาห์ โดยไม่มีสัญญาณเตือนใดๆให้เราได้รับรู้แม้แต่น้อย หากร่างกายของเราเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอย่างฉับพลัน ก็อาจนำไปสู่ภาวะไตวายหรือหัวใจล้มเหลว

วิธีการป้องกันไม่ให้เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 นั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดในทางการแพทย์ แต่บางงานวิจัยก็มีรายงานว่าการที่ทารกได้ดื่มนมแม่ แม้เป็นพียงช่วงสั้นๆก็สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 1 ในเด็กได้ นอกจากนี้ยังมีบางรายงานกล่าวว่าการได้รับวิตามิน D อย่างเพียงพอก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้เช่นกัน

  1. เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2diabetes)

            เบาหวานประเภทที่ 2 เป็นโรคเบาหวานประเภทที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดี เกิดจากการที่เซลล์ในร่างกายเริ่มที่จะต่อต้านอินซูลิน ส่งผลให้ร่างกายผลิตอินซูลินได้น้อยลง ทำให้น้ำตาลไม่ถูกใช้ไปเป็นพลังงานให้กับส่วนต่างๆของร่างกาย และก่อตัวกันในกระแสเลือดแทน ภาวะดังกล่าวนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เรามีน้ำตาลในกระแสเลือดสูงอยู่แทบจะตลอดเวลา ทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินออกมาบ่อยครั้ง จนร่างกายเริ่มไม่มีการตอบสนองต่ออินซูลินอีกต่อไป

โรคเบาหวานประเภทที่ 2 นี้อาจใช้เวลาก่อโรคนานหลายปี ทำให้หากตรวจพบว่ามีความเสี่ยง เราก็สามารถป้องกันตัวเองได้โดยการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภทนี้อาจไม่ต้องฉีดอินซูลินเข้าไปเพื่อรักษา แต่จะใช้วิธีการรักษาด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยแทน

ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานประเภทที่ 2 ได้แก่
– มีญาติที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2
– น้ำหนักเกิน
– สูบบุหรี่
– รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
– การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดความอ้วน หรือยาที่ใช้รักษาโรค HIV

จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ส่วนใหญ่ล้วนมาจากพฤติกรรมที่มาจากตัวเราเองทั้งสิ้น ซึ่งหากเป็นโรคเบาหวานขึ้นมาแล้ว ก็ต้องใช้เวลาที่ยาวนานในการรักษา และยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น เราจึงควรหันมาใส่ใจในสุขภาพของตัวเองให้มากขึ้นกันเถอะค่ะ

 

ที่มา

https://www.medicalnewstoday.com/articles/7504.php#risk
https://www.medicalnewstoday.com/articles/317246.php#other-sugar-related-health-risks
https://www.honestdocs.co/insulin
https://www.bangkokhospital.com/th/health-tips/diabetes-myths-and-facts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Brands
7amino (0)
Active (0)
Alcon (2)
aLGy (2)
Amsel (1)
Bayer (1)
Beurer (2)
CDR (2)
CG210 (2)
D24 (0)
Dettol (4)
Doctor (7)
Durex (5)
Ezerra (5)
Fos (2)
Futuro (9)
Hashi (11)
Hicee (2)
I-COCO (1)
ILHWA (0)
Lynae (2)
Nipro (9)
Noal (0)
O labo (2)
Omron (1)
Proflex (14)
Racer (1)
Ray (0)
Renu (3)
Scagel (3)
Scholl (1)
Stada (1)
Toby (5)
Tomei (5)
Vicks (3)
Vistra (11)
Yamada (1)
Yibon (0)