ระวัง!! คุณอาจสมองเสื่อมโดยไม่รู้ตัว

ระวัง!! คุณอาจสมองเสื่อมโดยไม่รู้ตัว

ระวัง!! คุณอาจสมองเสื่อมโดยไม่รู้ตัว

โรคอัลไซเมอร์ หรือที่เรียกกันจนคุ้นเคยว่าโรคสมองเสื่อม นับว่าเป็นหนึ่งในโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งโรคนี้มีระยะเวลาในการก่อโรคนานกว่า 15-20 ปี ทำให้หลายๆ คนไม่เคยตระหนักเลยว่าวันหนึ่ง ตัวเราเองอาจจะกลายเป็นผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้

ที่จริงแล้วโรคสมองเสื่อมนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง,โรคพาร์กินสัน,ขาดฮอร์โมนไทรอยด์โดยโรคความจำเสื่อมที่เกิดจากสาเหตุเหล่านี้จึงสามารถหายขาดได้หากเราหายจากโรคนั้นๆ แต่ทว่าโรคความจำเสื่อมที่เกิดจากภาวะอัลไซเมอร์นั้นแตกต่างออกไป อาการจะค่อยๆเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และยิ่งปล่อยไว้นานอาการจะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

อัลไซเมอร์คืออะไร

อัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมถอยของสมองที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “เบต้า-อะไมลอยด์” ที่ไปจับตัวกับเซลล์สมองทำให้เซลล์สมองฝ่อลง จึงส่งผลกระทบต่อความทรงจำ ทักษะการนึกคิด และพฤติกรรมการใช้ชีวิตต่างๆของผู้ป่วย โดยจะแบ่งระยะของโรคได้เป็น 3 ระยะดังต่อไปนี้

  1. โรคอัลไซเมอร์ระยะแรกเริ่ม

ผู้ป่วยจะยังทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ขับรถ ทำงาน พูดคุยกับคนรอบตัวได้เป็นปกติ แต่จะมีการหลงลืม เช่นจำชื่อคนรู้จักไม่ได้ จำไม่ได้ว่าวางสิ่งของเอาไว้ตรงไหน เป็นต้น หากพบว่าตนเองหรือคนในครอบครัวที่มีอายุมากมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาต่อไป

  1. โรคอัลไซเมอร์ระยะปานกลาง

ระยะนี้เป็นระยะที่ยาวนานที่สุด โดยในขั้นนี้ผู้ป่วยจะเข้าสังคมกับผู้อื่นได้ยาก เนื่องจากผู้ป่วยจะหลงลืมเวลาหรือจำที่อยู่ของตัวเองไม่ได้ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการทางจิตเวชร่วมด้วย เช่น อารมณ์ร้อน หงุดหงิดง่าย หรือซึมเศร้า บางครั้งอาจมีการทำพฤติกรรมเดิมซ้ำๆบ่อยครั้ง

  1. โรคอัลไซเมอร์ระยะรุนแรง

ผู้ป่วยในระยะนี้ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยจะไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างได้ อาจถึงขั้นไม่รับประทานอาหาร ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้

การป้องกันโรคอัลไซเมอร์

อย่างที่กล่าวไว้ว่าโรคอัลไซเมอร์นั้นไม่สามารถรักษาให้หายได้ ดังนั้น วิธีการที่ดีที่สุดคือการป้องกัน โดยวิธีการดูแลตัวเองให้ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมก็มีหลายวิธีด้วยกัน ดังต่อไปนี้

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ควรเริ่มปฏิบัติตั้งแต่อายุยังน้อย เนื่องจากในขณะที่เราหลับ สมองของเราจะทำการกำจัดการสะสมของโปรตีนที่จับตัวเป็นก้อนแข็งกระจายอยู่ทั่วทั้งสมองและเซลล์ประสาท ซึ่งรวมถึงกำจัดโปรตีนตัวร้ายอย่าง “เบต้า-อะไมลอยด์” ทำให้ลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ในระยะยาว

เรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ เช่น อ่านหนังสือ เล่นดนตรี หรือออกไปทำกิจกรรมทางสังคมต่างๆ เพราะทุกครั้งที่เกิดการเรียนรู้ เซลล์สมองจะมีการงอกแขนงใยประสาทมาเชื่อมกับเซลล์สมองรอบข้างเพื่อจดจำสิ่งใหม่ๆ ทำให้หากเราหมั่นบริหารสมองอยู่บ่อยๆ ความหนาแน่นของใยสมองจะมีมาก ส่งผลให้สมองเสื่อมได้ยากขึ้นตามไปด้วย

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 75 นาทีต่อสัปดาห์ก็เป็นอีกวิธีที่ส่งผลดีต่อสมองในด้าน สมาธิ และความจำได้ อีกทั้งยังส่งผลดีต่ออสุขภาพในด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบหัวใจ และหลอดเลือด ทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบสมองและความทรงจำของเราได้

นอกจากวิธีการดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว หลายคนก็เลือกที่จะรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆที่ช่วยบำรุงสมองควบคู่ไปด้วย วันนี้เราจึงมีสมุนไพรดีๆจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมมาให้ทุกคนได้รู้จักกัน ก็คือ “พรมมิ” หรือที่บ้านเราเรียกกันว่า “ผักมิ” นั่นเอง

พรมมิ คืออะไร

พรมมิ หรือผักมิ เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ขึ้นอยู่ตามริมตลิ่ง ที่มีสรรพคุณป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ไม่แพ้สมุนไพรต่างประเทศเลย โดยสมุนไพรนี้มีสาร บาโคไซด์ เอ และ บาโคไซด์ บี ที่มีผลต่อระบบประสาทในด้านการเรียนรู้ และความจำ โดยจากการทดลองให้ผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป รับประทานสารสกัดจากพรมมิวันละ 300-450 มิลลิกรัม นาน 4 เดือน พบว่าอาสาสมัครมีทักษะในการเรียนรู้เกี่ยวกับการทดสอบความทรงจำที่ดีขึ้น และไม่พบความเป็นพิษต่อร่างกายแต่อย่างใด อาจจะมีผู้ทดลองบางรายที่เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร หรือคลื่นไส้ แต่ก็อยู่ในระดับที่มีความปลอดภัยสูง

จากผลการทดลองความสามารถของสมุนไพรพรมมิ ในการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการคิด การเรียนรู้ และการฟื้นฟูความทรงจำส่วนใหญ่ให้ผลเป็นเชิงบวก ทำให้พรมมิเป็นอีกหนึ่งในสมุนไพรป้องกันโรคอัลไซเมอร์ที่น่าจับตามอง

 

ที่มา
– https://www.synphaet.co.th/new/th/informations/articles/134-demo-2.html
– https://www.honestdocs.co/this-is-what-your-overactive-brain-needs-to-get-a-good-nights-sleep
– https://www.haijai.com/3879/
– http://medplant.mahidol.ac.th/document/bacopa.pdf
-https://www.alz.org/alzheimers-dementia/stages

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Brands
7amino (0)
Active (0)
Alcon (2)
aLGy (2)
Amsel (1)
Bayer (1)
Beurer (2)
CDR (2)
CG210 (2)
D24 (0)
Dettol (4)
Doctor (7)
Durex (5)
Ezerra (5)
Fos (2)
Futuro (9)
Hashi (11)
Hicee (2)
I-COCO (1)
ILHWA (0)
Lynae (2)
Nipro (9)
Noal (0)
O labo (2)
Omron (1)
Proflex (14)
Racer (1)
Ray (0)
Renu (3)
Scagel (3)
Scholl (1)
Stada (1)
Toby (5)
Tomei (5)
Vicks (3)
Vistra (11)
Yamada (1)
Yibon (0)