6 วิธี รับมือกับไมเกรนหรือโรคปวดศรีษะ

Health Blog 6 วิธี รับมือกับไมเกรน

6 วิธี รับมือกับไมเกรนหรือโรคปวดศรีษะ

ไมเกรน เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทที่หลอดเลือดแดงบริเวณศีรษะซึ่งเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาดซึ่งอาจจะมีอาการเป็นครั้งคราว เป็นโรคปวดศีรษะที่พบได้บ่อยมาก และจะพบส่วนมากกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายค่ะ โดยวัยที่พบมากที่สุดคือวัยรุ่นและวัยทำงานนั่นเอง

โดยอาการปวดที่เกิดขึ้นมักมีความรุนแรงจากปานกลางไปจนถึงมาก เนื่องจากมีอาการปวดซ้ำๆ เป็นครั้งคราว ครั้งละหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน อาจจะเป็นข้างเดียว เป็นสลับข้าง หรือปวดทั้งสองข้างก็ได้ อาการร่วมที่พบบ่อยก็อย่างเช่น คลื่นไส้ อาเจียน ตาสู้แสงไม่ได้ ต้องหลีกเลี่ยงแสงจ้าหรือเสียงดัง บางรายอาจมีอาการเตือน เช่น ตาพร่า เห็นแสงวูบวาบหรือแสงกระพริบ ซึ่งอาการเตือนนี้มักเป็นไม่นานแล้วตามด้วยอาการปวดศีรษะข้างต้น และเนื่องจากโรคนี้มีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศหญิง จึงทำให้ผู้หญิงหลายคนเป็นโรคนี้ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ก่อนจะดีขึ้นหลังหมดระดูค่ะ

รับมือกับไมเกรน วิธีป้องกันไมเกรน

ปัจจัยกระตุ้นอาการปวดศีรษะไมเกรน
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคไมเกรนมีหลากหลาย ผู้ป่วยแต่ละรายควรสังเกตว่าปัจจัยใดบ้างที่กระตุ้นอาการปวดศีรษะในตัวเองซึ่งจะได้หลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านั้น ซึ่งปัจจัยกระตุ้นได้แก่

อาหาร – อาหารบางชนิดกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้เช่น คาเฟอีน, สารไทรามีนเช่น ชีส ผงชูรส (monosodium glutamate) ช็อกโกแลต สารที่ให้รสหวาน เช่น aspartame ผลไม้รสเปรี้ยว โยเกิร์ต และสารไนเตรทเช่น ไส้กรอก เป็นต้น

สภาวะแวดล้อม – สภาวะแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น อาการร้อนหรือหนาวจัด แสงแดดจ้า กลิ่นไม่พึงประสงค์บางอย่าง เช่น กลิ่นบุหรี่หรือกลิ่นน้ำหอม เป็นต้น

สภาพร่างกาย – สภาพร่างกายที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น นอนไม่พอ เครียด ทำงานหนักมากเกินไป และอดอาหาร เป็นต้น

ระดับฮอร์โมน – ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น ช่วงที่มีประจำเดือน รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ได้รับฮอร์โมนทดแทน และกำลังตั้งครรภ์ เป็นต้น

การออกกำลังกาย – การออกกำลังกายที่มากเกินก็สามารถกระตุ้นให้เกิดการกำเริบของอาการปวดหัวไมเกรนได้
ยาและสารเคมีบางชนิด – ยาและสารเคมีบางชนิดกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะได้ เช่น nitroglycerine, Hydralazine, Histamine, Resepine เป็นต้น

จะรับมืออย่างไรเมื่อมีอาการ
แต่เดิมนั้น ทั้งแพทย์และผู้ป่วยมักเริ่มใช้ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์อ่อนก่อน เช่น พาราเซตามอล ไม่ว่าการปวดจะแรงแค่ไหน หากไม่ได้ผลจึงจะใช้ยาที่แรงขึ้น เช่น เออร์โกตามีน (ชื่อการค้าว่า คาเฟอร์กอต) หรือยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (เช่นไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน) ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้หายปวดได้ช้า ผู้ป่วยมักต้องทนทุกข์ทรมานกับการปวดหลายชั่วโมง หรือเป็นวัน หรืออาจต้องไปฉีดยาที่โรงพยาบาล

ดังนั้นแนวโน้มการใช้ยาแก้ปวดในยุคใหม่จึงมักให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะใช้ยาใดที่เหมาะสมกับการปวดแต่ละครั้ง เพื่อจะได้หายปวดเร็วที่สุด ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มีอาการเตือนแล้วมักปวดรุนแรง จะให้เลือกใช้ยาแก้ปวดที่ออกฤทธิ์เร็ว เช่น ไอบูโพรเฟน เออร์โกตามีน หรือยากลุ่มทริปแทน หากผู้ป่วยคิดว่าปวดไม่แรงแต่จะปวดนานหรือปวดซ้ำได้ในวันต่อๆ ไป จะแนะนำให้ใช้ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ที่ออกฤทธิ์ยาว เช่น นาพรอกเซน การกระทำเช่นนี้ จะทำให้การตอบสนองต่อการรักษาดีขึ้น หยุดปวดได้เร็ว และกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม คงต้องปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกยาและทราบคำแนะนำในการใช้ก่อนนะคะ

เทคนิคอีกอย่างที่อยากแนะนำคือ การใช้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน เช่น เมโทโคลพราไมด์ หรือดอมเพริโดน คู่ไปกับยาแก้ปวดได้เลย เพื่อลดอาการผะอืดผะอม คลื่นไส้ อาเจียนที่มักมาพร้อมกับอาการปวด ยากลุ่มนี้จะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวได้ดีขึ้น ยาแก้ปวดจะดูดซึมได้ดีและเร็วขึ้นด้วยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

http://woman.teenee.com/health/3329.html
http://th.wikipedia.org/wiki/ไมเกรน

Brands
7amino (0)
Active (0)
Alcon (2)
aLGy (2)
Amsel (1)
Bayer (1)
Beurer (2)
CDR (2)
CG210 (2)
D24 (0)
Dettol (4)
Doctor (7)
Durex (5)
Ezerra (5)
Fos (2)
Futuro (9)
Hashi (11)
Hicee (2)
I-COCO (1)
ILHWA (0)
Lynae (2)
Nipro (9)
Noal (0)
O labo (2)
Omron (1)
Proflex (14)
Racer (1)
Ray (0)
Renu (3)
Scagel (3)
Scholl (1)
Stada (1)
Toby (5)
Tomei (5)
Vicks (3)
Vistra (11)
Yamada (1)
Yibon (0)